ชิปปิ้ง กับ 7 ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าทางบก ที่ผู้ประกอบการต้องรู้!

ชิปปิ้งจีน ขนส่งทางบก Nextlogistic ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง กับ 7 ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าทางบก ที่ผู้ประกอบการต้องรู้!                                Nextlogistic 768x402

ชิปปิ้ง มีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยได้เลือกใช้บริการนำเข้าสินค้า (Import) จากต่างประเทศเข้ามาประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีน

เพื่อนำมาจำหน่ายหรือใช้เอง เช่น เครื่องประดับ ของชำร่วย เสื้อผ้า สินค้าไอที เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเทคโนโลยี เป็นต้น สำหรับสินค้าเหล่านี้เป็นที่นิยมในการสั่งซื้อในปริมาณจำนวนมาก เพราะยิ่งซื้อมากยิ่งได้ราคาที่ถูกลงกว่าเดิม ช่วยประหยัดต้นทุน และสามารถเพิ่มมูลค่าหรือสร้างกำไรได้เป็นกอบเป็นกำอีกด้วย

หากเป็นพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ที่ต้องการจะนำเข้าสินค้า ควรมีการเตรียมความพร้อมในการค้นหาข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการหาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค การติดต่อกับผู้จำหน่ายสินค้าในต่างประเทศ ข้อมูลภาษีการนำเข้าสินค้า หรือแม้แต่การติดต่อกับบริษัทชิปปิ้ง เพื่อดำเนินการนำเข้าสินค้าให้เป็นไปอย่างเป็นระบบและถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการลดความเสี่ยงในการโดนยึดสินค้า ทำให้เสี่ยงต่อการถูกสรรพากรเรียกดูเอกสารย้อนหลัง ฯลฯ

Next Logistics ถือเป็นผู้นำเข้าสินค้าจากเมืองจีนมาไทย หรือให้บริการชิปปิ้ง ให้บริการเรื่องการนำเข้าสินค้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเอกสาร และการประสานงานจากต้นทางมายังปลายทาง ช่วยให้ประหยัดต้นทุนด้วยเรทค่าขนส่งเริ่มต้นกิโลกรัมละ 29 บาท สำหรับเอกสารสำคัญทุกใบที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าเป็นชื่อของลูกค้าทั้งหมด ทำให้กลายเป็นหลักฐานในการยื่นต่อกรมสรรพากรได้อย่างปลอดภัย

วันนี้เราได้มีข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการนำเข้าสินค้า เริ่มตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทางมาอธิบายให้ฟังกัน โดยเริ่มที่…

  1. ติดต่อกับโรงงานผู้จำหน่าย

เป็นขั้นตอนแรกและจุดแรกของขั้นตอนการขนส่งสินค้า โดยเริ่มจากผู้ขายหรือผู้ผลิตเป็นลำดับแรกก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เรียกว่า ‘โรงงาน’ หรือผู้จำหน่าย (Shipper) หน้าที่ของ Shipper เป็นการคุยการคุยกับลูกค้าเพื่อประสานงานและดำเนินการจัดการเรื่องสินค้า หลังจากนั้นบริษัทชิปปิ้งสามารถดำเนินการจัดการเรื่องเอกสารและการนำเข้าสินค้าให้เป็นตามระเบียบและกฎของศุลกากร

  1. ทำพิธีการศุลกากรขาออก

ในขั้นตอนนี้ ทางผู้จำหน่าย (Shipper) หรือตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Freight Forwarder) ที่ได้ทำการจัดจ้างเอาไว้ จะทำการแสดงสินค้าต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร เพื่อให้เห็นว่ามีสินค้าอะไรบ้างที่กำลังจะนำออกจากประเทศนั้นๆ ขั้นตอนนี้ใช้เวลาไม่นานเท่าไร หากไม่พบปัญหาอะไรให้ต้องแก้ไขเพิ่มเติม

  1. เตรียมเอกสารสำหรับการนำเข้า

ก่อนเบิกของออกมาได้ จำเป็นจะต้องผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้าก่อน ซึ่งพิธีการศุลกากรนี้ใช้ระบบดิจิทัลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกข้อมูลพร้อมลงลายมือชื่อในโปรแกรม เพื่อส่งไปยังระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร ในขั้นตอนนี้สามารถทำได้ด้วยตัวเอง หรือผ่านทางบริษัทชิปปิ้ง (หรือเรียกว่าผู้นำเข้าสินค้า) โดยเอกสารที่จำเป็นในการยื่นคือ ใบขนสินค้าขาเข้า ข้อมูลที่ต้องบันทึกลงในระบบจะประกอบไปด้วย

  • ข้อมูลยานพาหนะสำหรับนำเข้า ไม่ว่าจะเป็น รถ เรือ หรือ เครื่องบิน
  • ใบตราส่งสินค้า
  • บัญชีรายการสินค้าทุกรายการ
  • บัญชีรายละเอียดการบรรจุหีบห่อ
  • เอกสารอื่นๆ เช่น เอกสารผู้รับบรรทุก ผู้รับประกันภัยธนาคาร เป็นต้น
  • ใบอนุญาตนำเข้า หรือ เอกสารอื่นๆ ในกรณีสินค้านำเข้า เป็นข้อจำกัดตามเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • สำหรับสินค้าที่เป็นเคมีภัณฑ์ หรือสินค้าที่ไม่สามารถแยกชนิดและคุณภาพได้ ควรมีเอกสารการรับรองวิเคราะห์ของผู้ผลิตสินค้า (Certificate of Analysis) หรือเอกสารที่แสดงรายละเอียดของสินค้า (Specification) หรือเอกสารเรื่องข้อมูลความปลอดภัย (Material Safety Data Sheet) เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาแปลงเป็นใบขนส่งสินค้าอัตโนมัติ แล้วบันทึกลงสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรทางออนไลน์ หรือทางอินเตอร์เน็ตนั้นเอง

 

  1. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า

เมื่อทางศุลกากรได้รับข้อมูลที่บันทึกในระบบเรียบร้อยแล้ว จะมีการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นใบขนสินค้า ประกอบด้วย ชื่อ ที่อยู่ผู้นำเข้า เลขประจำตัวของผู้เสียภาษี พิกัดอัตราศุลกากร และราคาของสินค้า ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดในระหว่างการตรวจสอบข้อมูลจุดใดจุดหนึ่ง ทางศุลกากรจะแจ้งกลับมายังผู้นำเข้าเพื่อทำการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง และทำการส่งข้อมูลที่ได้รับการไขใหม่กลับไปทางศุลกากรอีกครั้ง ขั้นตอนนี้สามารถเกิดข้อผิดพลาดได้หลายครั้ง หากข้อมูลนั้นยังไม่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ แต่หากข้อมูลทั้งหมดตรวจสอบเรียบร้อยว่าถูกต้องและสมบูรณ์แล้ว ทางศุลกากรจะออกเลขที่ใบขนสินค้าให้

  1. ตรวจสอบพิสูจน์ตามเงื่อนไขชำระภาษีอากรขาเข้า

ขั้นตอนนี้ทางเจ้าหน้าที่ต้องตรวจสอบพิสูจน์เกี่ยวกับรายละเอียดข้อมูลของสินค้าให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ทางกรมศุลการกำหนดเอาไว้อย่างถี่ถ้วน โดยแบ่งสินค้าออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

  • ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) โดยสินค้าประเภทนี้ ผู้นำเข้าต้องนำใบขนสินค้าขาเข้าไปชำระภาษีอากรและสามารถวางประกันที่เกี่ยวข้องได้ทันที
  • ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) สำหรับสินค้าประเภทนี้ ผู้นำเข้าจะต้องนำใบขนสินค้าขาเข้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของที่นำเข้านั้นๆ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นสินค้าแบบ Green Line

แต่ในปัจจุบันนี้ ผู้นำเข้าสามารถชำระภาษีได้ 3 วิธี คือ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคาร และ กรมศุลกากร

  1. การตรวจสอบและการปล่อยสินค้า

ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการตรวจสอบและปล่อยสินค้าออกจากอารักขาของศุลกากร ฉะนั้น ผุ้นำเข้าต้องยื่นใบขนสินค้าพร้อมใบเสร็จรับเงินที่ชำระเรียบร้อยแล้วให้กับคลังสินค้า ขั้นตอนนี้เองข้อมูลของสินค้าจะถูกตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง โดยต้องผ่านการตรวจสอบหรือยกเว้นการตรวจ กรณีที่ใบขนสินค้ายกเว้นการตรวจ (Green Line) ใบขนสินค้าประเภทนี้จะใช้เวลาในการตรวจสอบน้อยมาก แต่ถ้าเป็นสินค้าต้องผ่านการตรวจสอบพิธีการขนส่งทางบก จะมีการเคลื่อนย้ายสินค้าเพื่อตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร ก่อนปล่อยสินค้าออกจากอารักขาศุลกากร

  1. การขนส่งไปยังผู้รับ

เมื่อสินค้าได้ตรวจสอบเป็นที่เรียบร้อย จึงจะสามารถขนส่งไปยังผู้รับได้ สำหรับการขนส่งทางรถในประเทศไทย มีข้อกำหนดสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่กว่ารถกระบะด้วย และในช่วงการจราจรคับคั่งจะเป็นช่วงที่รถใหญ่ห้ามวิ่งในเขตเมือง และเมื่อผู้รับสินค้าได้รับของเป็นที่เรียบร้อย ถือว่าเสร็จภารกิจการขนส่งสินค้า

อย่างไรก็ตามในการดำเนินการนำเข้าสินค้าให้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ควรเลือกใช้บริการกับบริษัทชิปปิ้งที่มีประสบการณ์และจัดการอย่างมืออาชีพ มีความน่าถือสูงอย่าง Next Logistics ซึ่งได้รับความไว้วางใจในการนำเข้าสินค้าจากจีนอย่างผู้เชี่ยวชาญ ทำให้เป็นที่เชื่อมั่นในการนำเข้าสินค้าจากบริษัทต่างๆ มากมาย สามารถศึกษาบริการได้ที่นี่

ข้อมูลอ้างอิงจาก กรมศุลกากร ‘พิธีการศุลกากรนำเข้าทางบก

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *