ชิปปิ้ง ระวัง! สำแดงราคาอันเป็นเท็จเมื่อนำเข้า โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน

ชิปปิ้ง ระวัง! สำแดงราคาอันเป็นเท็จเมื่อนำเข้า โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน-nextlogistics ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง ระวัง! สำแดงราคาอันเป็นเท็จเมื่อนำเข้า โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน                          6                 768x402

ชิปปิ้ง สืบเนื่องจากเมื่อปลายปีที่ผ่านมา จากกรณีที่บริษัท ฟิลลิปส์ มอริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด ได้มีการนำเข้าบุหรี่ต่างประเทศมายังประเทศไทย โดยมีการสำแดงราคาอันเป็นเท็จ เพื่อพยายามปกปิดจะหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร โดยพบว่ามีเจตนาฉ้อโกงค่าภาษีของรัฐบาลไทย จนมีการฟ้องร้องดำเนินคดีกันเกิดขึ้นระหว่างฟิลิปปินส์-ไทย

ต่อมาศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ได้พิพากษาคดีดังกล่าว โดยตัดสินใจให้จำเลยในคดี ถูกปรับเป็นเงินจำนวน 1,225 ล้านบาท ฐานกระทำความผิดสำแดงราคาบุหรี่ 2 ยี่ห้อดังต่ำกว่าเป็นจริงเพื่อเลี่ยงภาษีนำเข้า

อย่างไรก็ตาม การกระทำลักษณะดังกล่าวถือเป็น 1 ใน 5 ความผิดทางศุลกากรที่พบได้บ่อยๆ  ในการนำเข้าสินค้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งมีความผิดและต้องโทษดังต่อไปนี้

ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร
หมายถึงการนำของที่ต้องชำระค่าภาษีอากร เข้ามา-ออกนอกราชอาณาจักร โดยผ่านพิธีการศุลกากรอย่างถูกต้อง แต่ใช้วิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมีเจตนาเพื่อมิต้องชำระค่าภาษีอากรหรือชำระในจำนวนที่น้อยกว่าจำนวนที่ต้องชำระ อาทิ สำแดงปริมาณ น้ำหนัก ราคา ชนิดสินค้า หรือพิกัดอัตราศุลกากรที่เป็นเท็จ เป็นต้น ซึ่งในกรณีนี้ ผู้นำเข้า-ส่งออก ที่มีความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร จึงมีความผิดฐานสำแดงเท็จอีกฐานหนึ่ง

∴ ตามกฏหมายศุลกากรได้กำหนดโทษสูงสุดสำหรับผู้กระทำผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร คือ ให้ริบของที่หลีกเลี่ยงภาษีอากร และปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาสินค้ารวมค่าภาษีอากรหรือจำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ

แต่ในกรณีที่ที่มีการนำของซุกซ่อนมากับของที่สำแดงเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีเช่นเดียวกัน โทษสำหรับผู้กระทำผิดคือ ปรับ 4 เท่าของอากรที่ขาดกับอีก 1 เท่าของภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยที่ขาด (ถ้ามี) และให้ยกของที่ซุกซ่อนมาให้เป็นของแผ่นดิน

ความผิดฐานสำแดงเท็จ
คือการสำแดงใดๆ เกี่ยวกับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าไม่ตรงกับหลักฐาน เอกสาร และข้อเท็จจริงในการนำเข้า-ส่งออก เช่น
● ยื่นใบขนสินค้า คำสำแดง ใบรับรอง หรือตราสารอย่างอื่นต่อกรมศุลกากร อันเป็ฯความเท็จ หรือ ไม่บริบูรณ์ หรือชักพาให้หลงผิดในรายการใดๆ ก็ตาม
● การไม่ตอบคำถามหรือไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ปฏิบัติหน้าที่
● การละเลยหรือไม่รักษาบันทึกเรื่องราว หรือทะเบียน หรือสมุดบัญชี หรือเอกสาร หรือตราสารอย่างอื่นๆ ซึ่งกฏหมายศุลกากรกำหนดไว้
● ปลอมแปลงหรือใช้เอกสาร บันทึกเรื่องราว หรือตราอย่างอื่น ที่ปลอมแปลงแล้ว
● การแก้ไขเอกสาร บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นภายหลัง ที่ทางราชการออกให้แล้ว
● ปลอมดวงตรา ลายมือชื่อ ลายมือชื่อย่อ หรือเครื่องหมายอย่างอื่นของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ซึ่งเจ้าหน้าที่ศุลกากรนั้นๆ ใช้ในการปฏบัติหน้าที่ตามกฏหมาย
∴ การกระทำลักษณะนี้ ให้ถือเป็นความผิดโดยมิต้องคำนึงถึงว่า ผู้กระทำความผิดมีเจตนาหรือไม่ กฏหมายศุลกากรได้กำหนดโทษสูงสุด สำหรับผู้กระทำผิดฐานสำแดงเท็จ คือ ปรับเป็นเงิน ไม่เกิน 50,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน

นอกจากนี้ ยังมีความผิดของการนำเข้าและส่งออก(ชิปปิ้ง)ที่พบบ่อยๆ อาทิ

ความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร
โดยของที่ลักลอบหนีหนีศุลกากรอาจเป็นของที่ต้องเสียภาษี หรือไม่ต้องเสียภาษีก็ได้ และเป็นของต้องห้าม/ต้องกำกัดหรือไม่ก็ได้ หากผู้ที่นำเข้า-ส่งออกของ ไม่นำมาผ่านพิธีการศุลกากร ถือว่ามีความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร
ทั้งนี้ กฏหมายศุลกากรได้กำหนดโทษสูงสุดสำหรับผู้กระทำผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร คือ ให้ริบของที่ลักลอบหนีศุลกากร และปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาสินค้า รวมค่าภาษีอากรหรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

ความผิดฐานนำของต้องห้าม/ต้องกำกัดเข้ามา-ส่งออก นอกราชอาณาจักร
หากผู้ใดที่นำเข้าของต้องห้าม/ต้องกำกัดเข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับอณุญาต กฏหมายศุลกากรได้กำหนดโทษสูงสุดสำหรับผู้กระทำผิด คือ ให้ริบของที่หลีกเลี่ยงข้อห้าม/ข้อกำกัด และปรับเป็นเงิน 4 เท่า ของราคารวมค่าภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

ความผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากร
การกระทำผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากร อาจมีได้หลายกรณี อาทิ การปฏิบัติพิธีการศุลกากรผิดท่า หรือ การขอยื่นปฏิบัติพิธีการศุลกากรแบแบใบขนสินค้าขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ ย้อนหลัง โดยการกระทําความผิดฐานฝ่าฝืนกฏระเบียบที่กําหนดไว้ ผู้ฝ่าฝืนจะถูกปรับ 1,000 บาท

อ้างอิง : กรมศุลกากร