ชิปปิ้ง ธุรกิจขนส่งสินค้าในปัจจุบัน มีรูปแบบการขนส่งหลายประเภทให้เลือกสรรตามความเหมาะสมกับสินค้า แต่รูปแบบการขนส่งที่มีความยืดหยุ่นสูงและได้รับความนิยมมากที่สุดคือการขนส่งทางบกหรือทางรถบรรทุก
การขนส่งทางรถบรรทุกนั้น มีข้อดีตรงที่ใช้ระยะเวลาสั้น เช่น ชิปปิ้ง จากจีนมาไทยใช้เวลาโดยประมาณ 3-5 วันถึง อีกทั้งเป็นการขนส่งที่ราคาไม่แพง รองรับการขนส่งได้ทั้งสินค้าขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ตามประเภทของรถบรรทุกที่แตกต่างกัน
อย่างไรก็ตาม รถบรรทุกที่ใช้สำหรับขนส่งสินค้านั้น มีความเป็นมาที่ยาวนานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 ในขณะนั้นเป็นเพียงรถยนต์ดัดแปลงที่ใช้แทนรถม้าลาก เพื่อใช้ชิปปิ้งสินค้าเฉพาะท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกา ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงมีการเติบโตของอุตสาหกรรมรถบรรทุกในสหรัฐอเมริกา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของรถบรรทุกขนาดใหญ่ ที่ใช้จุสินค้าได้เป็นจำนวนมาก
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จำนวนการใช้งานของรถบรรทุกขนส่งระหว่างเมืองลดน้อยลง เนื่องมาจากความยากลำบากของยานพาหนะที่ใช้น้ำมันเบนซิน อีกทั้งรัฐบาลกีดกันการใช้ยานพาหนะในช่วงสงครามโลก จนเมื่อสงครามสงบ รถบรรทุกขนส่งกลับเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง ซึ่งคราวนี้ดูเหมือนว่า จะมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีขนส่ง รวมทั้งมีการปรับปรุงเส้นทางหลวง ทำให้การคมนาคมสะดวกสบาย กอปรกับการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ยิ่งส่งผลให้ธุรกิจชิปปิ้งมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น
ในปี 1997 มีการก่อตั้ง ‘สมาคมรถบรรทุกแห่งสหรัฐอเมริกา’ (American Trucking Associations : ATA) รถบรรทุกถูกใช้งานในสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวน 19.84 ล้านคันเพื่อประโยชน์ทางการค้า ต่อมาในปี 1999 ธุรกิจรถบรรทุกได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก มีผู้ผลิตรถบรรทุกในสหรัฐอเมริกา จำนวน 7,423,375 ล้านคัน หรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของการผลิตทั่วโลกรวม 16,600,988 คัน ส่วนผู้ผลิตรถบรรทุกรายใหญ่อื่นๆ ได้แก่ ญี่ปุ่น, แคนาดา, จีน, เกาหลีใต้ , เม็กซิโก, สเปน, ฝรั่งเศส, อิตาลี เป็นต้น
ปัจจุบัน รถบรรทุกที่ได้รับความนิยมใช้สำหรับขนส่งสินค้านั้น มีทั้งหมด 8 ประเภทที่นิยมใช้กันทั่วโลก ได้แก่
1. รถบรรทุกแบบตู้รถไฟ (Road Train) เป็นรถบรรทุกที่ใช้ขนส่งระยะไกล มีลักษณะเหมือนตู้รถไฟที่นำมาพ่วงต่อเข้าด้วยกัน ในเมืองไทยไม่ค่อยนิยมใช้รถบรรทุกประเภทนี้ เนื่องจากสภาพถนนไม่เอื้ออำนวย ส่วนใหญ่มักใช้งานในแถบประเทศออสเตรเลีย แคนาดา อเมริกา เม็กซิโก ส่วนทางฝั่งยุโรป เช่น ฟินแลนด์ สวีเดน เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก และนอร์เวย์ ซึ่งมีเส้นทางคมนาคมที่ปลอดภัยมากกว่า เป็นต้น
2. รถบรรทุกแบบมีม่านปิดด้านข้าง (Curtainsider Truck หรือ Tauliner) เป็นรถบรรทุกที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ สร้างขึ้นโดย Boalloy of Congleton บริษัทวิศวกรรมยานยนต์สัญชาติอังกฤษ ซึ่งมีชื่อเสียงในวงการยานยนต์มานานกว่า 50 ปี สำหรับขนส่งสินค้าทั่วไป ขนถ่ายสินค้าได้ทั้งด้านบน ด้านข้าง และด้านหลังรถ
3. รถพ่วงขนาดใหญ่ (Mega Trailer) เป็นประเภทของรถพ่วงที่ถูกพัฒนาขึ้นในยุค 90s โดยบริษัทโลจิสติกส์ที่ชื่อว่า ‘Ewals Cargo Care’ ร่วมกับอุตสาหกรรมยานยนต์ของยุโรป จุดประสงค์ของนวัตกรรมนี้ คือ สร้างรถพ่วงที่สามารถบรรทุกสินค้าได้ถึง 100 ลบ.ม. หรือบรรทุกสินค้าได้เพิ่มขึ้น 25% ของรถพ่วงทั่วไปในยุโรปยุคนั้น
4. รถบรรทุกที่ใช้ขนส่งสินค้าปริมาณมาก (Jumbo Trailer) คือรถบรรทุกที่มีตู้พ่วงขนาดใหญ่ ใช้สำหรับขนส่งสินค้าทั่วไป โดยเฉพาะความจุของตู้นั้นสามารถขนส่งสินค้าได้ในปริมาณมาก
5. รถพ่วงสำหรับใช้ในการเกษตร (Box Trailer) เป็นอีกประเภทหนึ่งของรถบรรทุก เหมาะสำหรับขนส่งที่มีปริมาณมากๆ เช่น สินค้าทางการเกษตร หรือเสื้อผ้าที่ต้องแขวนบนราวเพื่อป้องกันการยับยู่ยี่ Box Trailer สามารถขนถ่ายสินค้าได้ในระหว่างการขนส่ง
6. รถพ่วงขนส่งอาหารระยะสั้น (Thermo Box of Isotherm Trailer) เป็นรถพ่วงที่หุ้มฉนวนไว้อย่างดี แต่ไม่มีอุปกรณ์ทำความเย็น ใช้สำหรับการขนส่งระยะสั้น การรักษาอุณหภูมิภายในจะมีการเปลี่ยนแปลงเพียง 1 องศาต่อวัน และสามารถขนย้ายสินค้าได้จากด้านหลังเท่านั้น
7. รถพ่วงควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controlled Trailer/ Frigo) มีลักษณะคล้ายๆ กับรถพ่วงขนส่งอาหาร แต่มีอุปกรณ์แช่เย็น ออกแบบมาเพื่อการขนส่งสินค้าประเภทอาหารสดที่เน่าเสียได้ง่าย อุณหภูมิของห้องเย็นยาวนานต่อเนื่อง -25 ถึง 25 องศาเซลเซียส ขนถ่ายสินค้าได้เพียงด้านหลังรถเท่านั้น
8. รถบรรทุกสองชั้น (Double Decker) เป็นรถพ่วงที่มีตู้แช่เย็นสองชั้น โดยอุณหภูมิแต่ละชั้น จะถูกกำหนดให้แตกต่างกัน เช่น +25 องศา และ -25 องศา
อย่างไรก็ตาม สินค้าบางประเภทเหมาะสำหรับขนส่งทางรถบรรทุก ในขณะที่สินค้าบางประเภทก็อาจจะเหมาะกับการขนส่งด้วยวิธีอื่นมากกว่า เช่น ทางเรือ ทางเครื่องบิน ฯลฯ ผู้สนใจนำเข้าสินค้า อ่านข้อมูลก่อนชิปปิ้ง สินค้าที่เหมาะกับการขนส่งทางรถบรรทุก และศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าทางบก ต้องทำอย่างไรบ้าง ? คลิกอ่านคำตอบได้ ที่นี่
อ้างอิงข้อมูล :
http://whitenies.blogspot.com/2013/06/history-of-truck-transportation.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Mega_trailer
https://en.wikipedia.org/wiki/Tautliner
https://www.commercialmotor.com/used-vehicles/company-listing/boalloy-industries-ltd