ชิปปิ้งจีน กว่าสินค้าจะถึงมือผู้รับ ต้องเสียภาษีนำเข้าแบบไหนบ้าง?

ชิปปิ้งจีน ภาษีนำเข้าที่ต้องเสีย Next Logistics ชิปปิ้งจีน ชิปปิ้งจีน กว่าสินค้าจะถึงมือผู้รับ ต้องเสียภาษีนำเข้าแบบไหนบ้าง?                                                                                                                  Next Logistics 768x402

ชิปปิ้งจีน ขึ้นชื่อว่าเป็นเรื่องของการนำเข้าสินค้าหรือการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน ก่อนสินค้าถึงมือผู้รับหรือปลายทางนั้นจะต้องได้รับการชำระภาษีและอากรขาเข้าที่เหมาะสมตามกฎหมาย

ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนและการดำเนินการชำระภาษีที่ซับซ้อน และด้วยความซับซ้อนนี้เอง ที่ผู้นำเข้าต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่ออำนวยความสะดวกให้สินค้านำเข้าประเทศหรือชิปปิ้งจีนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบที่ทางหน่วยงานได้กำหนดไว้

ทำไมสินค้านำเข้าต้องเสียภาษีนำเข้า ? คำตอบคือ เพื่อลดความเสี่ยงในการถูกตรวจสอบย้อนหลัง แล้วมีภาษีอะไรบ้างที่ผู้นำเข้าสินค้าหรือผู้ประกอบการชิปปิ้งจีนควรรู้ Next Logistics รวบรวมข้อมูลมาให้ ดังต่อไปนี้

ภาษี TAX

ไม่ว่าจะนำสินค้าชนิดใดก็ตามเข้ามาในประเทศ จะมีการเรียกเก็บภาษีในอัตราเดียวกันทั้งหมด ซึ่งภาษีประเภทนี้เป็นการเก็บภาษีเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ ถึงอย่างนั้นยังมีการยกเว้นในบางกรณีเช่นกัน เฉพาะบางประเทศหรือบางรัฐ เนื่องจากรัฐบาลต่างมีกฎหมายปลอดภาษีให้กับประชาชน เช่น หากสินค้าที่สั่งซื้อนำเข้ามาในสหรัฐอเมริกา พร้อมมีใบสั่งซื้อสินค้าแนบเข้ามาด้วย โดยมีมูลค่าต่ำกว่า 800 เหรียญ จะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีนั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละประเทศมีอัตราขั้นต่ำที่ไม่ต้องเสียภาษีกำหนดเอาไว้เท่าไร

อากร Duty

เป็นการเรียกเก็บตามส่วนของมูลค่าสินค้าและส่วนของปริมาณสินค้า ภาษีนี้เป็นสิ่งที่ทางรัฐบาลได้บังคับจัดเก็บจากราษฎร เพื่อนำภาษีที่เก็บมานั้นไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม ขึ้นอยู่กับประเทศปลายทางมีกฎหมายอย่างไรในการเรียกเก็บภาษี

แน่นอนว่า แต่ละประเทศมีการเรียกเก็บอากรที่แตกต่างออกไป เช่น การส่งของไปยังสหรัฐอเมริกา หากเป็นการส่งของเพื่อการพาณิชย์ อาจมีการเก็บค่าธรรมเนียมการค้า (Merchandising Processing Fee) ภาษีขาย (Sales Tax) และภาษีเงินได้ (Internal Revenue Tax) เพิ่มขึ้นอีกด้วย

สรุปสั้นๆ ให้เข้าใจง่ายเกี่ยวกับภาษี ได้ดังนี้

TAX หมายถึง ภาษี เป็นเงินที่ทางรัฐบาลได้เรียกเก็บจากประชาชน เพื่อนำเงินภาษีส่วนนี้ไปพัฒนาประเทศ

VAT คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีส่วนย่อยของ TAX ซึ่งเรียกเก็บจากผู้บริโภค

Duty คือ ภาษีอากรขาเข้า-ขาออก เนื่องจากภาษีอากรจะแตกต่างกันไปตามประกาศของการนำเข้าสินค้าต่างๆ ตามที่ทางศุลกากรได้กำหนดเอาไว้ เช่น อากรขาเข้า 5% , 10% , 30% เป็นต้น โดยเป็นส่วนย่อยของ TAX เช่นกัน

จะรู้ได้อย่างไรว่าสินค้าประเภทไหน จะต้องเสียภาษีอากรกี่เปอร์เซ็นต์ ?

เพราะมี HS Code (Harmonized System) คือ ระบบจำแนกประเภท และระบุชนิดด้วยเลขรหัส 6 หลัก ได้เป็นมาตรฐานสากลที่องค์กรศุลกากรโลก (WEC) ได้จัดทำขึ้นมา เพื่อจำแนกและระบุสินค้าที่มีการซื้อขายอย่างถูกต้อง

โดยภาษีศุลกากรทั่วไป สามารถคำนวณได้จาก

  • ประเภทผลิตภัณฑ์และการใช้งาน / ฟังก์ชั่น (HS Codes) / HS Code คืออะไร
  • ข้อตกลงทางการค้า
  • โควต้าการนำเข้าประเทศที่ส่งออก
  • ราคาขนส่ง

อย่างไรก็ตามยังมีสินค้าบางประเภท เมื่อนำเข้าสินค้ามาในประเทศต้องเสียภาษีสรรพสามิต อีกด้วย

ผู้นำเข้ารายใหม่จำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ที่ไม่ทราบเกี่ยวกับการเสียภาษีสรรพสามิต เพราะไม่รู้ว่าสินค้าที่กำลังนำเข้ามานั้น ต้องเสียภาษีในส่วนนี้ด้วย ทำให้ไม่ได้คำนวณภาษีนำเข้าในส่วนของต้นทุน ซึ่งอาจทำให้เสียเวลาในการเคลียร์สินค้าผ่านพิธีศุลกากรอีก อย่างไรก็ตาม ผู้นำเข้าจำเป็นต้องเดินเรื่องกับทางกรมสรรพสามิตก่อน ซึ่งอาจมีค่าปรับด้วย

ภาษีสรรพสามิตนั้น เป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการ เหตุผลที่ทำให้ต้องรับภาษีสูงกว่าปกติ เนื่องจากอาจเป็นสินค้าที่บริโภคแล้ว ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ รวมทั้งศีลธรรมอันดี หรือเป็นสินค้าที่มีลักษณะฟุ่มเฟือย อีกทั้งจัดเป็นสินค้าและบริการที่ได้รับผลประโยชน์พิเศษจากกิจการของรัฐ เป็นต้น โดยการเสียภาษีสรรพสามิตนั้น จะเป็นรายได้ให้กับรัฐบาลนำไปบริหารประเทศ และดูแลบำรุงท้องถิ่นต่างๆ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย

ทางกรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการ อะไรบ้าง?

  • สุรา
  • ไพ่
  • ยาสูบ
  • น้ำหอม หัวน้ำหอม และน้ำมันหอม
  • น้ำมัน และผลิตภัณฑ์น้ำมัน
  • เครื่องดื่ม
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า (เฉพาะเครื่องปรับอากาศ และโคมระย้าที่ทำจากแก้วเลดคริสตัล และแก้วคริสตัลอื่นๆ)
  • รถยนต์ (รถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน)
  • เรือยอร์ช และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ
  • รถจักรยานยนต์
  • แบตเตอรี่
  • พรม และสิ่งทอปูพื้นอื่น (เฉพาะที่ทำด้วยขนสัตว์)
  • แก้วเลดคริสตัล และแก้วคริสตัลอื่นๆ
  • สถานบริการ (สนามกอล์ฟ สนามแข่งม้า)

เมื่อรู้ว่ามีสินค้าประเภทไหนบ้างแล้ว ก่อนการนำเข้าสินค้า จึงควรติดต่อปรึกษากับทางกรมสรรพสามิตก่อน เพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่แนะนำข้อมูล รวมไปถึงขั้นตอนการดำเนินการต่างๆ ให้ตรงกับประเภทของสินค้าที่กำลังจะนำเข้ามา ปัจจุบันสามารถยื่นแบบต่างๆ ผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพสามิตหรือศึกษาคำแนะนำด้านบริการข้อมูลยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ตของกรมสรรพสามิตได้ที่นี่

อย่างไรก็ตาม หากกำลังมองหาผู้นำเข้าสินค้าหรือให้บริการชิปปิ้งจีนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย Next Logistics พร้อมช่วยเดินพิธีการศุลกากรให้อย่างครบถ้วนถูกต้อง เอกสารทุกใบเป็นชื่อของลูกค้าทั้งหมด อีกทั้งยังสามารถควบคุมการขนส่งผ่านมือถือ รู้ทุกความเคลื่อนไหว ด้วยทีมงานมากประสบการณ์ ที่มีความเชี่ยวชาญระดับมืออาชีพ ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทและผู้ประกอบการมากมาย

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *