ชิปปิ้ง 7 กลยุทธ์เพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

ชิปปิ้ง 7 กลยุทธ์เพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน nextlogistics ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง 7 กลยุทธ์เพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน next 768x402

ชิปปิ้ง การวางแผนและการตัดสินใจผิดพลาดในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์นั้นอาจตามมาด้วยค่าใช้จ่ายมหาศาล

การเพิ่มประสิทธิภาพ การดำเนินงานบริหารจัดการและลดต้นทุนโลจิสติกส์ จึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ของธุรกิจขนส่งสินค้า เนื่องจากปัจจุบันความต้องการของลูกค้าค่อนข้างสูงและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจทั่วโลกที่ผันผวน

บริษัทในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ จึงต้องอาศัยกลยุทธ์ในการบริหารจัดการโลจิสติกส์
เพื่อช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลาและลดต้นทุนด้านการขนส่ง ซึ่งอาจจะเลือกใช้ Outsource เป็นผู้ให้บริการ

ต้นทุนโลจิสติกส์และซัพพลายเชนคืออะไร?

แม้ว่าแต่ละบริษัทจะมีความเข้าใจด้านต้นทุนโลจิสติกส์ที่แตกต่างกัน แต่การขนส่งสินค้าคงคลังและในการขนส่งก็มีส่วนทำให้เกิดค่าใช้จ่ายจำนวนมาก แน่นอนว่าต้นทุนโลจิสติกส์ส่วนใหญ่ จะขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้า และกระบวนการที่แตกต่างกัน ต้องพิจารณาทั้งต้นทุนและประสิทธิภาพ รวมไปถึงการสร้างสมดุล

การจัดการต้นทุนโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (Supply Chain) มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับบริษัทที่มีส่วนร่วมในการขนส่ง/การค้าระหว่างประเทศ (ชิปปิ้ง)เนื่องจากค่าใช้จ่ายเหล่านี้คิดเป็น 5-50% ของราคาทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ ราคาค่าขนส่ง รวมถึงค่าประกันภัยคลังสินค้าโกดัง ภาษีศุลกากร และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น

-ต้นทุนเชื้อเพลิง
-สินค้าเดินทางมาถึงท่าเรือล่าช้า จึงนำมาสู่ค่าขนส่งชิปปิ้งที่สูงขึ้น
-กฏระเบียบที่ซับซ้อนเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ (การประมวลผลเอกสารการตรวจสอบการปฏิบัติตาม)
-การส่งมอบล่าช้าและค่าใช้จ่ายคลังสินค้าเพิ่มขึ้น

ต่อไปนี้คือ 7 วิธีลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

1. การจัดส่งรวม
การจัดส่งสินค้าแบบ FCL (ขนส่งแบบเต็มตู้) จะดีกว่าการขนส่งแบบ LCL (ขนส่งแบบไม่เต็มตู้) หรือชิปปิ้ง เนื่องจากมีความปลอดภัยและคุ้มค่ามากกว่า และสามารถลดการวิ่งเที่ยวเปล่า ไม่เช่นนั้นอาจประสบกับความล่าช้าในกระบวนการทางศุลกากร

อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีการขนส่งแบบ LCL อาจเป็นตัวเลือกที่ประหยัดกว่าสำหรับการขนสินค้าที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก ซึ่งวิธีที่ดีในการลดต้นทุนโลจิสติกส์คือการจัดส่งสินค้าที่มีขนาดเล็กรวมกันจากซัพพลายเออร์หลายรายที่ใช้ปลายทางเดียวกัน

2. ประกันภัยสินค้า
กลยุทธ์การวางแผนโลจิสติกส์และการประหยัดต้นทุนนั้น จะสูญเปล่าถ้าหากไม่มีประกันสินค้าที่เหมาะสม การประกันภัยจะครอบคลุมมูลค่าสินค้าอย่างเต็มที่เพื่อป้องกันเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ในกระบวนการจัดส่ง

3. ใช้แพลตฟอร์มเดียว
กระบวนการดำเนินงานของซัพพลายเชน ควรรวมอยู่ในเเพลตฟอร์มเดียวที่สามารถเข้าถึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่ ซึ่งวิธีนี้จะสามารถประหยัดเวลา และไม่ทำให้ประสิทธิภาพลดลง

4. Outsourcing
ธุรกิจมากกว่า 2 ใน 3 เลือกใช้ Outsourcing หรือผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากบริษัทอื่น เนื่องจากการดำเนินงานด้านซัพพลายเชนส่วนใหญ่ เป็นการขนส่งและการเก็บรักษา การใช้บริการจาก Outsource ส่วนใหญ่ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประหยัดเวลา รวมไปถึงช่วยลดต้นทุน
การมอบหมายงานที่สำคัญให้กับ Outsource มืออาชีพ ที่มีทักษะเเละความชำนาญ เป็นการหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายปลีกย่อยอื่นๆ และเพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้า รวมทั้งผู้ให้บริการโลจิสติกส์เองด้วย

5. รักษาทัศนวิสัยของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
โดยการปรับปรุง วางแผน และควบคุมค่าใช้จ่ายโดยบริหารจัดการสต็อคให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ เพื่อลดความเสี่ยงของการขาดดุลผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นวิธีกำจัดความไม่แน่นอนในกระบวนการอุปสงค์/อุปทานและรักษาระดับการให้บริการที่เหมาะสม

6. ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การใช้ทรัพยากรของบริษัทอย่างจำกัดและไม่เต็มประสิทธิภาพ ย่อมส่งผลโดยตรงต่อการดำเนินงาน รายได้และภาพลักษณ์ของบริษัท เพราะฉะนั้น การใช้ทรัพยากรของบริษัทอย่างเต็มที่ จะมีส่วนช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพทางธุรกิจและสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม

7. การวางแผนให้ทันเวลา
การวางแผนปฏิบัติงานที่กำหนดเวลาได้อย่างเหมาะสม เช่น กำหนดเส้นทางการจัดส่งและเวลาขนส่ง (จากขั้นตอนการรับสินค้าจนถึงขั้นตอนการจัดส่ง) เป็นสิ่งจำเป็น เพราะการตัดสินใจในนาทีสุดท้ายที่เร่งรีบ อาจส่งผลให้เกิดความล่าช้าและพลาดกำหนด ซึ่งส่งผลเสียกับภาพลักษณ์ของบริษัทฯ

แหล่งข้อมูลจาก : aacb.com