ชิปปิ้ง LSP (Logistics Service Provider) คืออะไรในวงการโลจิสติกส์

ชิปปิ้ง LSP (Logistics Service Provider) คืออะไรในวงการโลจิสติกส์-nextlogistics ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง LSP (Logistics Service Provider) คืออะไรในวงการโลจิสติกส์ LSP 768x402

ชิปปิ้ง LSP (Logistics Service Provider) ผู้จัดหาบริการด้านโลจิสติกส์ภายนอก

หรือผู้ประกอบการด้านธุรกิจโลจิสติกส์ภายนอก ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 

Next Logistics รวบรวมลักษณะและบทบาทหน้าที่ของ LSP (Logistics Service Provider) ไว้ดังนี้

ลักษณะการให้บริการของ LSP
งานที่ให้บริการจะเป็นกิจกรรมการให้บริการอย่างเป็นกระบวนการ ลักษณะงานมีความซับซ้อน ต้องใช้ทักษะความชำนาญเฉพาะด้านและเทคโนโลยี โดยผู้ว่าจ้างอาจใช้ผู้ให้บริการหลายราย โดยที่ผู้ว่าจ้างยังคงเข้าไปมีส่วนในการบริหารจัดการ เพื่อที่ผู้ให้บริการโลจิสติกส์แต่ละราย มีการเชื่อมโยงกัน

บทบาทหน้าที่ของ LSP

หมายถึง ผู้ให้บริการจากภายนอก หรือผู้ประกอบการภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่มีผลสำคัญ เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของสินค้า ซึ่งอาจเป็นทั้งผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออกสินค้า เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยสามารถแบ่งประเภทของการให้บริการ LSP ได้ดังต่อไปนี้

1.ให้บริการขนส่งสินค้า (Transportation Services)
หมายถึง การให้บริการด้านขนส่งสินค้า (ชิปปิ้ง) ทั้งภายในประเทศและส่งออกนอกประเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น
-ขนส่งทางรถบรรทุก -ขนส่งทางราง -ขนส่งทางท่อ -ขนส่งทางน้ำหรือทางเรือ – ขนส่งทางอากาศ / MTO (Multimodal Transport Operator) การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ Terminal To Terminal หรือ Door To Door

2.ให้บริการคลังสินค้า (Warehousing Services)
เป็นการให้บริการพัก เก็บรักษา ดูแลและบริหารคลังสินค้า รวมทั้งการกระจายสินค้า ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือวัตถุดิบ การจัดเก็บโดยไม่ให้สินค้าเสื่อมสภาพหรือแตกหักเสียหาย สามารถแบ่งประเภทของคลังสินค้าได้ เช่น
– คลังสินค้าผ่านแดน
– คลังสินค้าปลอดอากร
– คลังสินค้าทัณฑ์บน
– คลังสินค้ารับฝากเก็บสินค้าในประเทศ

ซึ่งบริการของ LPS ที่ลูกค้านิยมใช้บริการมากที่สุดได้แก่ คลังสินค้า การจัดการสินค้าคงคลัง เทียบท่าข้าม การขนส่ง ส่งต่อการขนส่งฯ

3.ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (International Freight Forwarder)
Forwarder ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการนำเข้าและส่งออกสินค้ากับทางสายเรือ(ชิปปิ้ง)หรือสายการบิน (Carrier) เพื่อจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าตั้งแต่การจองระวางเรือ การบรรจุสินค้า การขนส่ง การดำเนินพิธีการขาเข้าและขาออก การจัดการเกี่ยวกับเอกสารส่งออกและนำเข้า เป็นต้น โดยจะจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง แต่จะไม่มีเรือและเครื่องบินเป็นของตัวเอง

4.ตัวแทนออกของ (Customs Brokerage Services)
หรือการให้บริการด้านพิธีการศุลกากร ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้นำเข้า – ส่งออก ในการดำเนินพิธีการศุลกากรแทนผู้นำเข้า – ส่งออกที่เป็นเจ้าของสินค้า

5.การให้บริการพัสดุและไปรษณียภัณฑ์ (Courier and Postal Services)
ผู้ให้บริการขนส่งพัสดุและไปรษณียภัณฑ์ เป็นการให้บริการอย่างรวดเร็ว โดยให้บริการแบบ door-to-door โดยลักษณะสินค้าส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา เป็นต้น

ที่มา : docs.oracle.com