ชิปปิ้ง เทคโนโลยี 5G กับการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง

ชิปปิ้ง เทคโนโลยี 5G กับการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง-next logistics ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง เทคโนโลยี 5G กับการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง jghjib 768x402

ชิปปิ้ง ในยุคที่เทคโนโลยีไร้สายในปัจจุบัน ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในหลากหลายธุรกิจอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการใช้หุ่นยนต์หรือ AI ในโรงงาน การใช้ยานยนต์ไร้คนขับ หรือ Drones ส่งของ และอุปกรณ์ IoT อื่นๆ อีกมากมาย 

แต่ด้วยความจำกัดของเทคโนโลยี 4G จึงไม่สามารถตอบสนองได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นเทคโนโลยี 5G จึงถูกออกแบบมาทะลวงขีดจำกัดเดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเสนอบริการที่มีความหลากหลายให้แก่ผู้ใช้บริการ จนอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโมเดลการทําธุรกิจ

องค์ประกอบที่สำคัญและความสามารถของเทคโนโลยี 5G เป็นเทคโนโลยีที่มีการทำงานทุกอย่างอยู่บน Cloud และรองรับการใช้งานที่มีการเชื่อมต่อของอุปกรณ์จํานวนมากในพื้นที่เดียวกัน เหมาะสมกับการทํางานของอุปกรณ์จําพวก Internet of Things (IoTs) นอกจากความเร็วในการเชื่อมต่อจำนวนมากๆ แล้ว ยังมีการส่งข้อมูลที่มีความเสถียรมากและมีความหน่วงเวลา (latency) สามารถควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ในระยะไกลได้แบบไม่ต้องกังวลถึงการดีเลย์เพื่อสามารถนำมาประยุกต์ใช้และพัฒนาอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ดังต่อไปนี้

ภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์
การยกระดับและพัฒนาระบบการจัดการโลจิสติกส์ เพื่อรองรับการเชื่อมต่อเซ็นเซอร์และอุปกรณ์จำนวนมาก เช่น การเชื่อมต่อข้อมูลจำนวนมหาศาลระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์ หรือยานพาหนะกับยานพาหนะ ที่สามารถรับส่งข้อมูลในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดข้อผิดพลาดต่างๆ และเกิดความปลอดภัย สูงสุด รวมถึงการพัฒนาอายุการใช้งานแบตเตอรี (Battery life) มากกว่า 10 ปี ส่งผลให้ต้นทุนในการใช้ทรัพยากรลดลง อีกทั้งการนําเทคโนโลยีมาใช้ในภาคโลจิสติกส์ ยังช่วยให้ทราบตําแหน่งยานพาหนะ หรือติดตามสถานะการขนส่ง(ชิปปิ้ง)ได้แบบเรียลไทม์ (Fleet management) สถานะการรับ-ส่งสินค้าที่แม่นยํา มีประสิทธิภาพ ทำให้การจัดการสินค้าคงคลังมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและนําส่งสินค้า(ชิปปิ้ง)ได้อย่างถูกต้อง แม่นยําและรวดเร็ว

ภาคอุตสาหกรรมการผลิต
การใช้งานเทคโนโลยี 5G ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ช่วยสนับสนุนให้กระบวนการควบคุม
เครื่องจักรกับเครื่องจักร (M2M) สามารถทํางานเชื่อมต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่นสูงขึ้น ช่วยลดต้นทุนด้านแรงงาน (Workforce) รวมถึงความหน่วงเวลา( Latency) ที่มีปริมาณต่ำมาก อีกทั้งลดความเสี่ยงหรือ ข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น อุปกรณ์เซ็นเซอร์ในตู้คอนเทนเนอร์หรือเซ็นเซอร์ในอุตสาหกรรมการขนส่ง โลจิสติกส์ ซึ่งอุปกรณ์เซ็นเซอร์เหล่านี้จะช่วยในการรตรวจสอบและควบคุม รวมถึงรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการจัดการการผลิตได้อย่างอัตโนมัติ ซึ่ง
ระบบนี้สามารถสั่งการได้จากระยะไกล โดยเฉพาะในการผลิตที่เสี่ยงอันตราย สามารถนำไปใช้บริหารจัดการโรงงานผลิตสินค้าหรือสินค้าที่ตั้งกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ รวมถึงผู้ประกอบการอื่นๆ ในห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้อง อาทิ Supplier และผู้จำหน่ายสินค้า (Distributor) ให้ทันต่อเหตุการณ์และมีประสิทธิภาพสูงสุด

ภาคการขนส่งและการจัดการผังเมือง
การบริหารเครือข่ายระบบไฟฟ้า น้ำปะปา การขนส่ง ยานพาหนะแบบไร้คนขับ การควบคุมการจราจร การสร้างเมืองอัจฉริยะ การเรียนรู้ด้วย AI และการวิเคราะห์ด้วย Big Data สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ IoT เป็นหลายล้านชิ้น มีเซนเซอร์หลายล้านตัว มีการส่งและรับข้อมูลปริมาณมากๆ ด้วยความเร็วและความแม่นยำสูง ซึ่งการประมวลผลที่รวดเร็วนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยเทคโนโลยี 5G นั่นเอง

ที่มาข้อมูล : กสทช.

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *